TQM
ที่มาของแนวคิดเรื่อง TQM
แนวคิด
TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ
แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง
คุณรู้จักคำว่า
TQM หรือยัง
TQM มาจากคำว่า
TQC (Total Quality Control) ของญี่ปุ่น
หรือบางทีญี่ปุ่นก็เรียกว่า “CWQC” (Company-Wide
Quality Control) หรืออาจแปลว่า “การควบคุมคุณภาพทั่วบริษัท” (เรืองวิทย์, 2549) TQM
ได้รับการนิยามว่าเป็น “กิจกรรมที่เป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์
และครอบคลุมทุกส่วนขององค์กรโดยให้ความสำคัญที่ลูกค้า” (จำลักษณ์
และศุภชัย, 2548)
เมื่อกล่าวโดยสรุปโดยภาพรวมสำหรับความหมายของ
TQM นั้น : Witcher (1390 อ้างถึงใน สุนทร, 2542)
กล่าวว่า
T (Total) :
การยินยอมให้ทุกคนปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริหารงานระบบคุณภาพ
ซึ่งเกี่ยวกับทั้งลูกค้าภายนอก (external customer) และลูกค้าภายใน
(internal customer) โดยตรง
Q (Quality) :
การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเป็นหลัก
นอกจากนี้คุณภาพยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic
approach of management) กล่าวคือ การกระทำสิ่งใด ๆ
อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่า PDCA
cycle ซึ่งเสนอรายละเอียดโดย W.Edwards Deming
เพราะฉะนั้นถ้าหมุนวงจรคุณภาพเช่นนี้อย่างต่อเนื่องขึ้นภายในแต่ละหน่วยงานย่อยขององค์การหนึ่ง
ๆ ก็ย่อมจะเกิดระบบคุณภาพโดยรวมทั้งหมดที่เรียกว่า TQM ขึ้นมาได้ในประการสุดท้าย
M (Management) : ระบบของการจัดการหรือบริหารคุณภาพขององค์การ
ซึ่งดำเนินการและควบคุมด้วยระดับผู้บริหารสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision)
การประกาศพันธกิจหลัก (mission statement) และกลยุทธ์ของการบริหาร
(strateship management) รวมถึงการแสดงสภาวะของความเป็นผู้นำ
(leadership) ที่จะมุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาระบบคุณภาพขององค์การอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา
(continuous quality improvement)
ความหมายของ TQM
คุณภาพ (QUALITY)
การทำได้ตามข้อกำหนดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
-
ทำให้ลูกค้าพอใจ
-
ทำให้ลูกค้าสุขใจ
-
ทำให้มากกว่าที่ลูกค้าพอใจ เกินความคาดหวังของลูกค้า
คุณภาพโดยรวม (TOTAL QUALITY)
-
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพิ่มระดับความพอใจของลูกค้าให้สูงขึ้น
ปรับปรุงเพื่อยอดขายขององค์กรในเวลาเดียวกันด้วย
การบริหารคุณภาพที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TOTAL QUALITY MANAGEMENT:TQM)
-การบรรลุถึงคุณภาพโดยรวม ด้วยการที่ทุกคนในองค์กรยึดมั่นผูกพันและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
ความหมายของ TQM (องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศตาม ISO
/ CD 8402-1 )
การบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ
(TQM) หมายถึง
แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ารวมทั้งการสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่หมู่สมาชิก
TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ
1. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ
2. การปรับปรุงกระบวนการ
3.ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
แนวความคิดเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพ
แนวความคิด วัตถุประสงค์
1.ความต้องการและความหวังของลูกค้า 1.เพื่อจะได้รู้ว่าใคร คือ
ผู้ที่เราต้องบริการ
2.กระบวนการและผลลัพธ์
2.เพื่อให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราทำเพื่อให้
บรรลุถึงผลสำเร็จของงาน
3.ทีมงาน
3.เพื่อให้พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานใน
กระบวนการหนึ่งๆ
มีส่วนร่วม
4.ภาวะผู้นำ
4.กระตุ้นให้กำลังใจ,อำนวยความสะดวก
,แนะนำ
5.การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 5.เพื่อทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
•
เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าภายใน/ภายนอก
•
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
•
เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
ภายใต้สภาวะ
การแข่งขันที่รุนแรง
•
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
•
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
•
เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ
TQM
คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่
ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต
ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
ผลที่ได้รับจาก TQM
ทำให้การดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น
โดย
- สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น
- ของเสียเป็นศูนย์
- กำจัดของเสีย
- ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้น่าสนใจมากขึ้น
- บริการหรือส่งของได้เร็วขึ้น
- ลดต้นทุนด้านการผลิต
- พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม
TQM : ภาคปฏิบัติ
วัตถุประสงค์ : การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
หลักการสำคัญ
1.การมุ่งเน้นที่ลูกค้า หรือการมุ่งเน้นที่คุณภาพ
2.การปรับปรุงกระบวนการ
3.ทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วม
ปัจจัยสนับสนุน
1.ภาวะผู้นำ 4.การติดต่อสื่อสาร
2.การศึกษาและฝึกอบรม 5.การให้รางวัลและการยอมรับ
3.โครงสร้างองค์กร 6.การวัดผลงาน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success factor :
KSF ของระบบ TQM )
1.
ความยึดมั่นผูกพันอย่างจริงจังจากผู้บริหารทุกระดับ
2.
การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้
3.
โครงสร้างขององค์กรที่สนับสุนนวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
4.
การติดต่อสื่อสารจะต้องทั่วถึงทั้งแนวดิ่งตามสายงาน
และแนวราบของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ
5.การให้รางวัลและการยอมรับทีมงาน
สมควรได้รับจากผลงานที่ปรากฎการส่งเสริม
6.
การวัดผลงานอย่างเหมาะสม
7.
การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ